เมื่องานวิจัยบอกว่า เงินสามารถซื้อความสุขได้ ? เมื่องานวิจัยบอกว่า เงินสามารถซื้อความสุขได้ ? หลายคนมักถามว่า “เงินสามารถซื้อความสุขได้หรือไม่” แน่นอนว่าคำตอบของแต่ละคนอาจตอบไม่เหมือนกัน บ้างก็คิดว่าได้ ส่วนบางคนก็คิดว่าไม่ แต่ที่แน่ ๆ จากงานวิจัยจากศาสตราจารย์ Jon Jachimovicz จาก Harvard Business School ระบุว่า “เงินสามารถทำให้เราเครียดน้อยลง และทำให้ชีวิตง่ายขึ้น” ซึ่งนั่นอาจหมายถึงการมีเวลาเหลือในแต่ละวันมากพอที่จะทำให้เรามีเวลาทำสิ่งที่ชอบ หรือพักผ่อน “ความมั่นคงทางการเงินช่วยให้ผู้คนหลีกหนีจากความยุ่งยากในชีวิตประจำวัน” Jachimovicz กล่าว เขาบอกว่า บางคนอาจจะมีความสุขจากการทานอาหารที่ชอบแต่มีราคาแพง หรือการไปพักผ่อนในสถานที่หรู ๆ เพราะเคยมีงานวิจัยพบว่า การใช้เงินซื้อประสบการณ์ส่งผลให้เกิดความสุขที่ยืนยาวมากกว่าใช้เงินซื้อวัตถุ เพราะประสบการณ์อย่างการท่องเที่ยว จะถูกแปรสภาพเป็นความทรงจำ ซึ่งยังก่อให้เกิดความสุขทุกครั้งที่ย้อนนึกถึง แม้แต่การซื้อความปลอดภัยในชีวิต ซึ่งการมีเงินเก็บจึงเป็นกุญแจสำคัญที่กล่าวถึงการมีคุณภาพชีวิตที่(อาจจะ)ดี เพราะว่าเงินสามารถให้ความสงบ และทำให้เราซื้อทางออกจากถนนที่รถแสนจะติด หรือการขึ้น Uber เพื่อหลบพายุฝนหลังเลิกงานในการเดินทางกลับบ้าน แม้แต่การขจัดความกังวลในค่ารักษาพยาบาลที่ไม่คาดคิด รวมถึงการซื้อประกันคุ้มครองในวงเงินที่สูง แต่จุดเริ่มต้นที่ทำให้ Jachimovicz ได้แรงบันดาลใจในการค้นคว้าว่า “เงินบรรเทาความทุกข์ได้หรือไม่” มันมาจากคำของพ่อ Jachimowicz ที่บอกกับเขาว่า “ลูกต้องเรียนรู้วิธีใช้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา” ประโยคนี้ติดอยู่ในหัวของเขาจนเรียนจบ และเมื่อได้เข้าทำงานที่ HBS ฐานะทางการเงินจึงดีขึ้น เขาเลยเริ่มหาคำตอบจากสิ่งที่พ่อกล่าว เพราะเขาคิดมุมกลับออกไปเกี่ยวกับคนที่ไม่มีฐานะจะยังคงมีความสุขหรือไม่ Jachimowicz และเพื่อนร่วมงานของเขาจาก University of Southern California, Groningen University และ Columbia Business School ได้ทำการทดลองหลายชุด แต่ผมจะขอสรุปบางส่วนไว้ดังต่อไปนี้ครับ ———- #รายได้สูงช่วยลดความเครียด ในการศึกษาหนึ่ง เขาให้ผู้เข้าร่วม 522 คน เขียนไดอารี่บันทึกความรู้สึกในแต่ละวันเป็นเวลา 30 วัน เพื่อติดตามเหตุการณ์ในแต่ละวัน และการตอบสนองต่ออารมณ์ของพวกเขา โดยรายได้ของผู้เข้าร่วมอยู่ระหว่างน้อยกว่า 10,000 ดอลลาร์ถึง 150,000 ดอลลาร์ นั่นก็ทำให้พวกเขาพบว่า : คนที่มีรายได้จำนวนดังกล่าว ในสมุดไดอารี่พวกเขาจดบันทึกถึงความเหนื่อยหน่าย ความคับข้องใจแทบทุกวัน แต่เมื่อทีมวิจัยนำแบบทดสอบนี้ไปทดสอบกับคนที่มีรายได้มากกว่าคนกลุ่มแรก ผลก็คือ ผู้ที่มีรายได้สูงกลับประสบปัญหาความเครียดน้อยลง โดยผู้ที่มีรายได้สูงกว่ารู้สึกว่า “ตนเองสามารถควบคุมเหตุการณ์ที่อาจส่งผลต่อความเครียดได้ และยังรู้สึกมีอิสระในชีวิตมากขึ้นในการจัดการกับปัญหาที่อาจเกิดขึ้น” พวกเขามีเวลาว่างจากการใช้เงินซื้อความสะดวกสบาย และเอาเวลาเหล่านั้นไปทำสิ่งที่อยากทำ สิ่งที่ทำให้มีความสุข หรืออาจต่อยอดทางธุรกิจ แต่ Jachimowicz กล่าวว่า “ไม่ใช่ว่าคนรวยจะไม่มีปัญหาชีวิตนะ แต่การมีเงินช่วยให้คุณแก้ปัญหาใหญ่ให้เล็กลง และยังช่วยแก้ปัญหาได้เร็วยิ่งขึ้น” ———- #ทำไมเงินถึงสำคัญ ในการศึกษาอีกชุด พวกเขาได้ให้ผู้เข้าร่วมประมาณ 400 คน ที่มีปัญหาในชีวิตประจำวัน เช่น คนที่ไม่มีเวลาทำอาหาร คนที่อยู่ในพื้นที่ ๆ มีระบบขนส่งสาธารณะไม่ดี จากนั้นพวกเขาถามว่า ผู้เข้าร่วมจะแก้ปัญหาดังกล่าวอย่างไร ระหว่างใช้เงินแก้ปัญหา หรือขอความช่วยเหลือจากเพื่อนและครอบครัว ซึ่งผลลัพธ์แสดงให้เห็นว่า “คนกลุ่มนี้มักจะพึ่งพาครอบครัว และเพื่อนฝูงโดยไม่คำนึงถึงรายได้ของผู้อื่น โดยมักจะขอให้เพื่อนมารับ-ไปส่งตัวเอง หรือขอให้สมาชิกในครอบครัวช่วยเหลือ เช่น ให้ดูแลลูก หรือทำอาหารเย็นให้” กลับกันสำหรับคนที่มีเงินมากกว่าคนกลุ่มแรก พวกเขามักจะใช้เงินแก้ปัญหา และลดความรบกวนจากผู้อื่น ตัวอย่างเช่น การโทรหา Uber หรือสั่งอาหารร้านกลับบ้านแทนที่จะให้ผู้อื่นทำให้ “คำถาม คือ เมื่อปัญหาเข้ามาหาคุณ คุณรู้สึกว่า คุณสามารถจัดการกับมันได้ขนาดไหน” Jachimowicz กล่าว ——— นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยของ Matthew Killingsworth นักวิจัยอาวุโสจาก Penn’s Wharton School เขาระบุว่า เมื่อสำรวจดูรายได้หลากหลายระดับแล้วพบว่า “ความสุขสัมพันธ์กับรายได้ที่เพิ่มขึ้น เมื่อคุณมีเงินเพิ่มขึ้น คุณก็มีทางเลือกในการใช้ชีวิตมากขึ้น” โดยจะเห็นตัวอย่างชัดเจนในช่วงที่เกิดโรคระบาดโควิด-19 ผู้คนใช้เงินแบบเดือนชนเดือน ใครที่สูญเสียงานจากโรคระบาดก็อาจจะต้องการทำงานที่ทำให้เขาพ้นจากปัญหาเหล่านี้ไปได้ แม้ว่าจะเป็นงานที่ไม่ชอบก็ตาม แต่ก็ทนทำงานนั้น ๆ ไปเพื่อที่จะหางานที่เหมาะสมกว่าหรือหางานที่ดีกว่าทดแทนได้ในภายหลัง คำตอบที่พบมันสะท้อนให้เห็นว่าผู้คนส่วนมากพิจารณาเรื่องเงินเป็นดั่งมาตรวัดความพึงพอใจในชีวิต และสะท้อนความสุขเมื่อคุณมีทุกอย่างที่คุณต้องการ แต่ขณะเดียวกันงานวิจัยของ Shawn Achor นักจิตวิทยาจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด กล่าวว่า “เราควรตั้งสมการความสุขเสียใหม่ โดยให้ความสุขในตัวเราเป็นสารตั้งต้น หากเรารู้จักที่จะสุขกับเหตุการณ์ง่าย ๆ ในชีวิตประจำวัน ความสุขจะเป็นปัจจัยที่นำมาซึ่งความสำเร็จในชีวิต” แต่การมีรายได้ที่เพิ่มขึ้นจึงเป็นตัวช่วยสำคัญในการให้เรามีเวลาว่างทำสิ่งต่าง ๆ ค้นหาประสบการณ์ ตลอดจนอำนวยความสะดวกสบายในชีวิตและช่วยการแก้ปัญหา เพราะเราไม่อาจปฏิเสธได้ว่า ความเครียดทางการเงินเชื่อมโยงกับคุณภาพชีวิตประจำวันของผู้คน ประสิทธิภาพในการทำงาน ตลอดจนปัญหาในการตัดสินใจในระยะยาว และปัญหาด้านความสัมพันธ์กับคนที่คุณรักในการดูแลเขา(ลูกและภรรยา) โดย Jachimowicz กล่าวทิ้งท้ายว่า “ไม่ว่ายังไง คนที่ยากจนควรรู้สึกว่าพวกเขาควบคุมชีวิตตนเองได้เช่นกัน เพราะทำไมความฟุ่มเฟือยนั้นถึงมีแต่คนรวยเท่านั้นที่ซื้อได้ หรือมีแต่คนรวยที่ใช้เงินแก้ปัญหา ดังนั้นผู้มีอำนาจควรจะต้องจัดการแก้ปัญหาเชิงโครงสร้าง เพื่อให้ทุกคนเข้าถึงการมีคุณภาพชีวิตที่ดี” เพราะการมีคุณภาพชีวิตที่ดีจะส่งเสริมปัจจัยรอบด้านของประชาชน และนั่นอาจรวมถึงการลดลงของคดีอาชญกรรม ——– คำถามที่ว่า เงินสามารถซื้อความสุขได้หรือไม่ ในมุมผมอาจยังเป็นคำถามปลายเปิดของแต่ละคน เพราะความสุขของแต่ละคนอาจไม่เหมือนกันหรือเท่ากัน แต่ที่แน่ ๆ จากงานวิจัยทั้ง 3 ชิ้นพอจะทำให้เราสรุปได้ว่า “เงินสามารถซื้อความสะดวกสบาย ความปลอดภัย ช่วยลดความยุ่งยาก และเวลาได้” ดังนั้นการมีเงินในบัญชีจึงอาจทำให้เราสบายใจ และอุ่นใจในยามที่มีวิกฤตของชีวิต ยิ่งยุคนี้การจะมีอาชีพเดียวไม่เพียงพออีกแล้ว การลงทุนในตลาดสากลจึงเป็นสิ่งที่ถูกพูดถึงเป็นวงกว้าง หากคุณเป็นอีกคนที่สนใจศึกษาการลงทุน ตั้งแต่หุ้นต่างประเทศ, Crypto, Gold&Olie, และคู่สกุลเงิน เราพร้อมให้คำปรึกษาผ่านทาง Messenger กับเพจ Money Art Inspriration See author's posts Tags: ความสุขซื้อของ รวย ความสุข เงินสามารถซื้อความสุขได้ Continue Reading Previous Previous post: เรย์ ดาลิโอ ชายที่เสียทุกอย่างให้ตลาดหุ้นเพราะอัตตาNext Next post: Ingeborga Mootz เมื่อหญิงชราวัย 80 เทรดหุ้นจนรวยสิบ ๆ ล้าน บทความล่าสุด ตำนานนักลงทุนแห่ง Wall Street Peter Lynch ตำนานนักลงทุนแห่ง Wall Street Peter Lynch รู้จัก Fibonacci ศาสตร์ในการลงทุน รู้จัก Fibonacci ศาสตร์ในการลงทุน