ข่าวการลงทุนในตลาดสากลรายสัปดาห์ที่ 22 – 26 สิงหาคม 2565
Macro view
ภาวะตลาดในช่วงนี้ทั่วโลกต่างพยายามเอาตัวรอดกันจากภาวะเงินเฟ้อ การปรับอัตราดอกเบี้ยของแต่ละประเทศในช่วงนี้ไม่ทำให้เป็นแรงกระตุ้นให้ค่าเงินของแต่ละประเทศมากนัก ในช่วงปลายปีนี้ในโดยปรกติมักจะเป็นช่วงที่มีการใช้จ่ายจากการท่องเที่ยวที่สูง แต่ในปีนี้เมื่อดูจากสภาวะเศรษฐกิจทั่วโลกแล้วการใช้จ่ายจากการท่องเที่ยวยังฟื้นตัวได้ไม่เต็มที่นัก ก็เหลือแต่ปริมาณเงินหมุนเวียนจากการซื้อของช่วงเทศกาลเฉลิมฉลองปลายปีของคนในประเทศที่จะเป็นประเด็นเชิงบวกสำหรับช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี
จากความเห็นของทางสมาชิค FED ในการประชุม FOMC เมื่อกลางสัปดาห์ที่ผ่านมา มีแนวโน้มไปยังการปรับอัตราดอกเบี้ยโดยยังคงมีมุมมองว่าเศรษฐกิจยังคงแข็งแกร่ง แต่ถ้าเศรษฐกิจเกิดชลดตัวก็อาจมีการชลอการปรับอัตราดอกเบี้ยลง ดังนั้น สิ่งที่ทางเฟดจะให้ความสนใจหลังจากนี้จะเป็นตัวเลขการจ้างงาน และตัวเลขการใช้จ่าย ซึ่งก็หนีไม่พ้น retail sale โดยปรกติ ตัวเลขนี้มักจะออกมามีแนวโน้มที่ดีในช่วงปลายปีจากการซื้อของในช่วงเทศกาลต่างๆ
ในการออกมาให้ความเห็นของสมาชิคเฟด เจมส์ บูลลาร์ด ประธานเฟดสาขาเซนหลุยส์ ซึ่งมักจะให้ความเห็นที่ไปในแนวทางเดียวกับทาง พาเวล ประธานเฟด โดยล่าสุดได้ให้ความเห็นว่าเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกายังดีอยู่และมีมุมมองว่าการปรับอัตราดอกเบี้ยครั้งต่อไป ในเดือน ก.ย. นี้น่าจะยังคงปรับเพิ่มขึ้นอีก 0.75% โดยมีเป้าหมายให้อัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ระดับ 3.75-4.00% ในสิ้นปีนี้ โดบการเคลื่อนไหวของตลาดมักจะปรับตัวตามทิศทางความเห็นของพาเวล โดยตลาดราคาพันธบัตรซึ่งมีแรงขายต่อเนื่องมาตลอดสัปดาห์ที่แล้วปรับตัวลงต่อเนื่อง และดัชนีดอลลาร์อินเดคก็ยังปรับตัวขึ้นต่อเนื่องเช่นกัน
ในขณะนี้ราคาน้ำมันที่ยังคงปรับตัวลงแต่ทาง วอร์เรน บัฟเฟตต์ ก็ยังคงซื้อหุ้นบริษัทน้ำมันเพิ่มอย่างต่อเนื่องจากช่วงต้นปี โดยราคาน้ำมันจะปรับตัวลงอย่างต่อเนื่องจากประเด็นสงครามที่ตลาดต่างคลายควางกังวลลง เงินเฟ้อทั่วโลกยังมีแนวโน้วลดลงบ้างจากที่หลายประเทศต่างเร่งปรับอัตราดอกเบี้ย แต่ภาวะราคาสินค้าต่างๆรวมถึงความขัดแย้งของประเทศมหาอำนาจยังคงมีอยู่ เมื่อดูจากประเด็นในการคว่ำบาตรรัสเซียด้านพลังงานแล้ว หลายๆประเทศน่าจะมีการพิจารณายกเลิกหรือผ่อนคลายลง เพื่อไม่ให้เกิดการขาดแคลนพลังงานภายในประเทศและซึ่งถ้าเกิดขึ้นในหน้าหนาวจะไม่เป็นผลดีนัก ถ้าไม่มีไฟฟ้าใช้อาจเกิดการประท้วงขึ้นจากความอดอยากของประชาชนในประเทศต่างๆในยูโรโซน
การปรับอัตราดอกเบี้ยแม้ว่าตลาดจะรับข่าวประเด็นนี้ไปเยอะมากพอแล้ว แต่ก็ถือว่าเป็นประเด็นเดียวที่สามารถดึงความสนในนักลงทุนทั่วโลกให้มาติดตามได้ เพราะการปรับอัตราดอกเบี้ยนี้จะส่งผลไปยังสินทรัพย์เสี่ยงต่างๆให้ปรับตัวลงได้
ในช่วงนี้เราคงต้องหนีไม่พ้นการติดตามตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา ว่าจะทำให้ทางเฟดชลอการปรับอัตราดอกเบี้ยให้ช้าลงหรือไม่ เนื่องจากถ้าเร่งเครื่องมากเกินไปก็จะส่งผลกลับมายังตัวเศรษฐกิจและเกิดแรงขายที่รุนแรงในตลาดหุ้น
ประเด็นที่เราจับตา เรื่องการไปประชุม G20 ของประเทศ รัสเซีย จีน และ ทาง อเมริกา กับ ยูเครน ซึ่งจะมีการประชุมในช่วงปลายปีนี้ที่ประเทศอินโดนีเซีย โดยจะเป็นการพบหน้ากันเป็นครั้งแรกหลังจากมีประเด็นพิพาททางการเมืองของผู้นำของรัสเซียและผู้นำของยูเครน โดยการพบปะกันครั้งนี้อาจได้ทางออกในการเจรจากันมากขึ้น แม้ว่าในขณะนี้ทางรัสเซียเองดูจะเป็นฝ่ายคุมสถานการณ์การรบในพื้นที่ของยูเครนเองก็ตาม
ในช่วงปลายสัปดาห์นี้ นอกจากการประกาศตัวเลข GDP ของสหรัฐอเมริกาแล้ว ก็จะมีการออกมาให้ความเห็น ของ พาเวล ประธานFED ที่ตลาดต่างรอถ้อยแถลงว่าจะให้น้ำหนักในการปรับอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐไปในทิศทางไหนระหว่างการชลอ หรือ ว่าจะเร่งเครื่องต่อไป