Home | ซีรีส์การลงทุน | Market Cap. คืออะไร ทำไมนักลงทุนห้ามมองข้าม
Market capitalization หรือที่เรียกกันสั้น ๆว่า Market Cap. คือ มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดที่ใช้ในการประเมินหลักทรัพย์ หรือบริษัทนั้น ๆ ว่ามีมูลค่าใหญ่ หรือเล็ก

Market Cap. คืออะไร ทำไมนักลงทุนห้ามมองข้าม

Market Cap.

Market Capitalization หรือที่เรียกกันสั้นๆ ว่า Market Cap. คือ มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดที่ใช้ในการประเมินหลักทรัพย์ หรือบริษัทนั้น ๆ ว่ามีมูลค่าใหญ่ หรือเล็ก เมื่อนำไปเทียบกับหลักทรัพย์อื่น ๆ โดยจากข้อมูลของเว็บไซต์ knowledge bualuang ได้มีการแนะนำวิธีคำนวนในการหามูลค่าของตลาดหรือขนาดบริษัท ด้วยการนำ “ราคาของหุ้น x จำนวนหุ้นของบริษัท” เพื่อค้นหาว่า สินทรัพย์ที่เราสนใจมีความมั่นคงมากแค่ไหน และในขณะเดียวกันสามารถหาโอกาสการเติบโตในสินทรัพย์ที่เราสนใจได้อีกด้วย 

Market Cap. จึงมีอิทธิพลต่อนักลงทุนอย่างยิ่งในการหามูลค่าของสินทรัพย์ที่เราจะซื้อ หรือการหามูลค่าของหุ้น แน่นอนว่า หุ้นที่มี Market Cap. สูง ๆ หากราคาตกก็จะส่งผลกระทบต่อตลาดหลักทรัพย์ และต่อมูลค่ารวมหรือดัชนีของตลาดอย่างแน่นอน ตัวอย่างเช่น ในเหตุการณ์ 911 ที่สหรัฐอเมริกาได้สร้างผลสะเทือนถึงตลาดหุ้นไทย โดยเฉพาะหุ้นของการบินไทย แต่ทว่าหลังจากผ่านวิกฤตินั้นไปได้ หุ้นการบินไทยก็กลับมาที่ราคาปกติ เพราะพื้นฐานหุ้นดี มี Market Cap. สูงมาก

มีการแบ่งสัดส่วน Market Cap. ตามกลุ่มอุตสาหกรรมในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยกลุ่มที่มีมูลค่าสูงก็คือ กลุ่มพลังงานมี Market Cap. สูงสุดในประเทศ การใช้ประโยชน์จาก Market Cap. มีเยอะมาก ตั้งแต่ดูพฤติกรรมของตลาด ดูราคาหุ้น เพราะราคาหุ้นมักจะมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ตามระดับ Demand & Supply ในตลาด

โดย Market Cap. จะมีการแบ่งประเภทเช่นกัน ซึ่งจะแบ่งออกเป็นหลายประเภท แต่ที่เราเห็นหลัก ๆ จะมีอยู่ด้วยกัน 3 ประเภท อาทิ 

  1. ประเภท Large-cap ขนาดของ Market Cap : $10 พันล้าน – $200 พันล้าน
  2. ประเภท Mid-cap ขนาดของ Market Cap : $2 พันล้าน – $10 พันล้าน
  3. ประเภท small-cap ขนาดของ Market Cap : $300 พันล้าน – $2 พันล้าน

จะเห็นได้ว่าการแบ่งประเภทของ Market Cap. จะช่วยบอกฐานราคา หรือกลุ่มมูลค่าของบริษัทที่เราสนใจ และในขณะเดียวกันตัว Market Cap. จะให้ข้อมูลเรื่องความเสี่ยงได้เช่นกัน แต่ถึงอย่างนั้นมันก็ไม่ได้การันตีว่า หุ้น หรือสินทรัพย์ที่เราซื้อจะขึ้น และทำกำไร เพราะทุกอย่างขึ้นอยู่ที่การวิเคราะห์ด้วยการนำปัจจัยอื่น ๆ มาผนวกรวมกัน และยังขึ้นอยู่การตัดสินใจด้วยตัวเอง