Home | ซีรีส์การลงทุน | การติดดอยครั้งใหญ่ที่เปลี่ยนเซอร์ไอแซค นิวตัน กับฟองสบู่ South Sea Company

ในเดือนสิงหาคมค.ศ. 1720 เซอร์ไอแซกนิวตันต้องเผชิญกับทางเลือกครั้งใหญ่ในการลงทุน เพราะแม้แต่นักวิทยาศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่ที่คิดค้นทฤษฏีแรงโน้มถ่วงกลับต้องพ่ายแพ้ให้กับความโลภในตลาดหุ้นลอนดอนที่ต้องเสียเงินจำนวนมาก

โดยพื้นฐานแล้วเขาเป็นคนมั่งคั่งอยู่แล้ว เขาจึงมักเลือกลงทุนในสินทรัพย์ที่ตนเองวิเคราะห์ และกล่าวกันว่า เขาเป็นนักลงทุนที่ระมัดระวังตัวเสมอ และยังแนวรับแนวต้านเหมือนนักลงทุนในปัจจุบัน โดยในช่วงต้นปี 1720 เขานำเงินเก็บไปซื้อพันธบัตรรัฐบาลประเภทต่าง ๆ และยังเป็นเจ้าของหุ้นในบริษัทขนาดใหญ่สองสามแห่ง ก่อนที่เดือนสิงหาคมเขาจะขายพันธบัตรที่มีอยู่ เพื่อไปซื้อหุ้น South Sea Company บริษัทขนส่งการค้าที่มีสิทธิผูกขาดการค้ากับสหราชอาณาจักร และนี่คือจุดเริ่มต้นของหายนะทางการลงทุนครั้งใหญ่ของนิวตันที่ต้องเสียเงินไปมากหากคิดเป็นค่าเงินในปัจจุบันจะสูงถึงล้านดอลลาร์เลยทีเดียว

เป็นเวลาเกือบทศวรรษแล้วที่บริษัท South Sea Company ได้ทำธุรกิจอย่างมั่นคง ซึ่งบริษัทนี้ถือเป็นศูนย์กลางของความเฟื่องฟูของตลาดการค้า เพราะบริษัทนี้มีสิทธิผูกขาดการค้ากับสหราชอาณาจักร เนื่องจากรัฐบาลอังกฤษได้ตั้งบริษัท South Sea Company ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนระหว่างรัฐบาลและเอกชน เพื่อแก้ปัญหาหนี้สินของรัฐบาลที่เกิดขึ้นในช่วงระหว่างการทำสงครามกับสเปนในช่วงนั้น และบริษัทนี้ยังทำหน้าที่ขนส่งชาวแอฟริกันที่ถูกจับไปมากกว่า 30,000 ชีวิตทั่วมหาสมุทรแอตแลนติกเพื่อขายไปเป็นทาส

ซึ่งผู้ว่าการของบริษัท South Sea Company ก็ตัดสินใจจะออกหุ้นมามีมูลค่าเท่ากับจำนวนหนี้สินของรัฐบาลทั้งหมด โดยหุ้นจำนวนดังกล่าวจะนำไปให้แก่เจ้าหนี้เพื่อแลกกับภาระหนี้ที่กู้มา ซึ่งเรียกว่า วิธีนี้ถูกใจเจ้าหนี้ เพราะหากพวกเขายังถือพันธบัตรต่อไปก็ไม่มั่นใจว่ารัฐบาลจะจ่ายหนี้ได้ไหม และไหนจะล่อใจด้วยเงินปันผลปีละประมาณ 6% และยังมอบสัมปทานผูกขาดในการค้าขายสินค้าภายในอาณานิคมในอเมริกาใต้ให้แก่ South Sea Company อีกด้วย ซึ่งทุกอย่างดูจะ win-win ทั้งสองฝ่าย แต่ทว่าความจริงบริษัท South Sea Company ไม่ได้เติบโตอย่างที่คิด

ตัดกลับมาที่เซอร์ ไอแซค นิวตัน ก็เป็นหนึ่งในผู้ถือหุ้นกลุ่มแรก ๆ เขาบันทึกสิ่งนี้ไว้ในจดหมายของเขา เขาซื้อหุ้นในราคาประมาณ 100 ปอนด์ต่อหุ้น จนกระทั่งสิ้นปี ค.ศ.  1719 เขาได้สะสมการถือครองมูลค่า 13,000 ปอนด์ หรือประมาณ 2 ล้านปอนด์ในสกุลเงินอังกฤษในปัจจุบัน จากนั้นหุ้น  South Sea Company ก็บวกขึ้นไปแตะที่ 352 ปอนด์ในวันที่ 25 เมษายน ส่งผลให้นิวตันตัดสินใจขายเพื่อเอากำไร แต่ทว่า…

ในวันที่ 23 พฤษภาคมหุ้นก็ทำราคา  New High ที่ 487 ปอนด์ จนผู้คนมากมายหลงเชื่อและเข้าซื้อ จากนั้นก็ขยับเป็น 595 ปอนด์ วันที่ 1 มิถุนายน ส่งผลให้มูลค่าของบริษัทพุ่งสูงขึ้นไปอีก โดยโบรกเกอร์ในยุคนั้นเสนอราคาหุ้นละ 720 ปอนด์ จากนั้นก็ขยับอย่างบ้าคลั่งเป็น 770 ปอนด์ในอีกห้าวันต่อมา และเมื่อถึงกลางเดือนมิถุนายนนักวิทยาศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่คนนี้ก็ไม่อาจทนต่อความโลภได้ เขาตัดสินใจเข้าซื้อหุ้น South Sea Company โดยต้องจ่ายเงิน 700 ถึง 1,000 ปอนด์ต่อหุ้น

แต่ทันใดนั้นแรงส่งของหุ้น South Sea Company ก็หมดลง เพราะเหล่านักลงทุนเริ่มหมดความมั่นใจ และเมื่อถึงวันที่ 31 สิงหาคม หุ้นตัวนี้ก็มีราคาอยู่ที่ 810 ปอนด์ ก่อนที่อีกหนึ่งสัปดาห์ต่อมาหุ้นจะมีราคาที่ 700 ปอนด์ และตกลงไปที่ 570 ปอนด์ในวันที่ 14 กันยายน พร้อมกับราคาที่ไหลลงไปอยู่ที่ 200 ปอนด์ในต้นเดือนพฤศจิกายน ส่งผลให้นักลงทุนมากมายทั่วสหราชอาณาจักรที่เข้าซื้อขาดทุนยับเยิน รวมถึงเซอร์ไอแซค นิวตันที่สูญเสียเงินมากกว่า 20,000 ปอนด์ เทียบเท่ากับ 4 ล้านดอลลาร์ในปัจจุบัน

วิกฤต South Sea Company ครั้งนี้กลายเป็นฟองสบู่การเงินการลงทุนครั้งสำคัญที่โด่งดังมาถึงทุกวันนี้ นิวตันกล่าวถึงเหตุการณ์นี้ไว้ว่า “I can calculate the motions of the heavenly bodies, but not the madness of the people.” มันส่งผลให้นิวตันจิตตก จนมีคนกล่าวว่า ห้ามใครเอ่ยชื่อ  South Sea ต่อหน้าเขา

ความล้มเหลวของนิวตัน ชี้ให้เห็นถึงลักษณะพฤติกรรมทางด้านอารมณ์ของมนุษย์ในโลกการลงทุน ที่มักใช้อารมณ์เป็นตัวตัดสินใจกว่าเหตุผล หากนิวตันไม่เข้าซื้อรอบสองเขาก็สามารถคว้ากำไรได้แล้ว แต่ด้วยราคาที่ยั่วยวนใจจนสร้างความอยากให้นิวตัน จนต้องตัดสินใจเข้าซื้ออีกครั้งจนนำไปสู่หายนะทางการเงิน โดยมีการกล่าวกันว่า เหตุการณ์นี้มีเรื่องใต้บรรทัดมากมายและคนมีอำนาจในรัฐบาลเข้าไปเกี่ยวข้องกับการปั่นราคาในครั้งนั้น กระทั่งในปี ค.ศ. 1721 ผู้นำรัฐสภาคนใหม่ของอังกฤษได้กำหนดมาตรการบางอย่างเพื่อป้องกันไม่ให้สิ่งนี้เกิดซ้ำรอย แต่ทว่าตลอด 300 ปีที่ผ่านมาเหตุการณ์เหล่านี้ยังคงเกิดขึ้น แต่เกิดในรูปแบบที่แตกต่างกันเพียงเท่านั้น ดังนั้นการระมัดระวังและไม่ประมาทจึงเป็นสิ่งที่เราสามารถควบคุมได้ เพื่อความปลอดภัยในโลกการลงทุน