5 อาชญากรรมในวงการคริปโตฯ ที่อาจทำให้คุณหมดตัว
จากสถิติของเว็บไซต์ analytics insight มีการเปิดเผยว่าเมื่อ 2021 อัตราการเกิดอาชญกรรมในตลาดคริปโตฯ มีจำนวนสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ แต่เรื่องของการฟอกเงินในสกุลเงินดิจิทัลไม่ใช่ปรากฏการณ์ใหม่ เพราะตามรายงานของ CipherTrace กล่าวว่า อาชญากร crypto ได้ทำการฟอกเงินโดยใช้กระบวนการนี้ จนมีมูลค่าสูงถึง 432 ล้านเหรียญสหรัฐในเดือนเมษายน ปี 2021 ประมาณ 56% ของจำนวนเงินที่ฟอกนั้นเกี่ยวข้องกับ DeFi โดยเฉพาะอย่างยิ่งตัวเลขนี้ก็แซงหน้าปี 2020 ที่เกิดการสูญเสียถึง 1.9 พันล้านเหรียญสหรัฐ และในปี 2019 ที่ทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 4.5 พันล้านเหรียญสหรัฐในการสูญเสียเงินดิจิตอล และการหลอกลวง
หรือช่วงปีก่อนมีการหลอกลงทุน Bitcoin โดยปลอมเป็นเป็น Elon Musk เพื่อหลอกให้ซื้อ จากนั้นก็ดำเนินการยักยอกเงิน 2 ล้านเหรียญ นี่คือการใช้ชื่อของคนดังมาหลอกลวงเหตุการณ์สำคัญอีกประการหนึ่งของการหลอกลวงเกี่ยวกับการเข้ารหัสลับที่เกี่ยวข้องกับผู้หญิงชาวอังกฤษที่สูญเสียเงินออมทั้งหมดมูลค่า 9,000 ปอนด์ จากการลงทุนในสกุลเงินดิจิทัล โดยกลโกง Cryptocurrency ที่พบเห็นบ่อย ๆ ในปี 2021 ประกอบด้วย
สาเหตุที่เกิด rug pulls บนแพลตฟอร์ม DEX มากนั้นก็เพราะระบบดังกล่าวเปิดรับผู้ใช้งานทุกคนและไม่มีการตรวจสอบ ทำให้เหล่าแฮกเกอร์ใช้เป็นช่องทางเข้ามาหาเงินได้ง่าย
DeFi
DeFi ย่อมาจาก ‘decentralized finance’ เกิดจากความพยายามที่จะปรับปรุง และเปลี่ยนแปลงวิธีการ และรูปแบบการซื้อขายแบบดั้งเดิม โดยหลอกให้นักลงทุนเอาเงินมาลงทุนไว้ในแพลตฟอร์มแลกเปลี่ยนสกุลเงินดิจิทัลของตัวเอง และสัญญาว่าจะทำกำไรจำนวนมาก เมื่อมีเงินลงทุนมากขึ้นอาชญากรก็จะโอนเงินออกไปจนหมด แต่ที่เจ็บใจก็คือ นักลงทุนไม่สามารถตรวจสอบได้ว่า “ใครเป็นคนทำ”
Nonfungible Tokens Scams
Nonfungible Tokens หรือ NFT กำลังเป็นที่นิยมในปัจจุบัน แต่ตัว NFT เองก็เสี่ยงต่อการถูกทำซ้ำ เพราะมันมีรหัสแฮชแท็กเฉพาะ และผู้ดูแลจะมีอำนาจมาก โดยมีรายงานมากมายที่เกิดการแฮ็ก NFT ส่วนใหญ่จะเป็นการสร้างเว็บไซต์ขึ้นมาและให้นักลงทุนที่หลงเชื่อกรอกข้อมูลส่วนตัวทุกอย่างลงในเว็บไซต์ แน่นอนว่าหนึ่งในข้อมูลที่ถูกดึงไปคือ บัตรเครดิต กว่าจะรู้ตัวว่าโดนแฮ็กก็สายไปแล้ว
Altcoins Pump and Dump
Altcoin มักถูกนับว่าเป็นหนึ่งในหุ้นเพนนี หรือเหรียญทางเลือกที่ถูกที่สุด และมีสภาพคล่องต่ำ และมีมูลค่าตามราคาตลาดเพียงเล็กน้อย แน่นอนว่า พวกอาชญากรจะทำการสร้างกระแสปั่นราคาเหรียญ หรือหุ้นให้สูงขึ้นด้วยการซื้อเหรียญมาเก็บไว้เป็นจำนวนมาก แล้วเอามาปล่อยในราคาสูง ๆ เพื่อกวาดเอากำไรจากการขายกลับมา กรณีนี้มีความคล้ายกับการปั่นหุ้นลากให้สูงและทุบลงมา
การหลอกลวงที่เกิดจากไวรัสและมัลแวร์
พวกอาชญากรมักจะหากลยุทธ์ใหม่ ๆ และความพยายามในการเจาะเข้าไปในกระเป๋าเงินของนักลงทุน หนึ่งในวิธีใหม่ ๆ ก็คือ การใช้มัลแวร์ และไวรัส เพื่อเข้าถึงกระเป๋าเงินดิจิทัล ซึ่งบางกรณีก็ถูกเรียกค่าไถ่ หากอยากได้เงินคืน และยังรวมไปถึงชุดข้อมูลสำคัญของเรา
ICOs ปลอม
ICOs หรือ Initial Coin Offerings เป็นการระดมทุนที่มักใช้กับบริษัทขนาดเล็ก หรือสตาร์ทอัพมาเป็นแบล็คอัพ โดยวิธีการก็คือพวกมันจะสร้างสินค้า หรือพัฒนา Project ขึ้นมา จากนั้นก็ออกเหรียญแล้วขายให้กับนักลงทุนที่สนใจ และเห็นว่า “สิ่งนี้อาจจะประสบความสำเร็จ” หากนักลงทุนสนใจก็ซื้อเหรียญ ICOs ด้วยการจ่ายเหรียญคริปโต แต่สุดท้ายบางครั้งสิ่งที่คุณซื้อก็เป็นเพียงลมปากไม่มีจริง กว่าจะรู้ตัวก็สายไป
เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2021 คณะกรรมาธิการการค้าแห่งสหพันธรัฐ (FTC) ได้เผยแพร่รายงานเกี่ยวกับการหลอกลวงการลงทุน Crypto ซึ่งการหลอกลวงดังกล่าวทำให้สูญเสียเงินไป 80 ล้านดอลลาร์ FTC ตั้งข้อสังเกตว่านักลงทุนที่อยู่ในกลุ่มอายุ 20 – 40 ปี ส่วนใหญ่เป็นเหยื่อของการหลอกลวง Cryptocurrency และ Bitcoin ดังนั้นหากคุณสนใจที่จะลงทุน ควรศึกษาหาข้อมูลเหล่านั้นให้รอบคอบเพื่อไม่ตกเป็นเหยื่อของอาชญากรคริปโตฯ