หนังภาคต่อเศรษฐกิจไทยกับระเบิดเวลาที่เรียกว่าวิกฤตเงินเฟ้อ
หลังจากที่เราได้เห็นการประกาศอัตราเงินเฟ้อในไทย จึงมักมีการเปรียบเทียบสถานการปัจจุบันกับช่วงปี 40 แต่สื่งที่เราไม่ได้เทียบคือ ความรุนแรงที่มันสะท้อนออกมาเพราะรอบนี้มันสะท้อนมาที่ฐานของเศรษฐกิจอย่างคนหาเช้ากินค่ำ พนักงาน แม่ค้าพ่อค้าต่างๆ ส่วนธุรกิจรายใหญ่จะมีปัญหาจากการไม่สามารถกู้เงินจากธนาคารได้เหมือนก่อน ( สังเกตุได้จากการออกหุ้นกู้ที่มีมากขึ้น ) จะว่าไปเหตุการณ์ในปัจจุบันเป็นเหมือนหนังภาคต่อช่วงเศรษฐกิจถดถอย(ปี 2018-2019) ก่อนโควิด-19 ที่มีทั้ง
- ภาวะหนี้สิน มีการพยายามขายอสังหาที่เกิดจากการเก็งกำไรออก
- บริษัทต่างๆ ลดขนาดลง หรือบางแห่งปิดกิจการในบางประเทศ หรือย้ายฐานการผลิต
- สงครามการกีดกันทางการค้า เช่น ตั้งเงื่อนไขกำแพงภาษี หรือมีข้อกำหนดต่างๆ ในการนำเข้ามากขึ้น ซึ่งก่อนหน้านี้เป็น อเมริกากับจีน แต่ตอนนี้เป็นกลายเป็นอเมริกากับทางรัสเซีย
ซึ่งก่อนหน้านี้ พันธบัตรสหรัฐอเมริกาทั้งจีนและรัสเซียก็ทยอยลดการถือครองมาตลอด ไหนจะประเด็นสงคราม ที่อเมริกาและนาโตกดดันรัสเซียแล้วสร้างปัญหาให้เกิดเงินเฟ้อไปทั่วโลก จนประเทศตัวเองประสบปัญหาภายใน แต่ทาง FED ก็ยังประเมินว่าเศรษฐกิจยังคงแข็งแกร่งอยู่ แต่สุดท้าย FED ต้องขึ้นอัตราดอกเบี้ย เพื่อที่จะกดดันตัวเลขเงินเฟ้อให้ลดลง
จากสองประเด็นทั้งเรื่องการปรับดอกเบี้ย และเรื่องการทยอยเกิด Recession กันทั้วโลก
สิ่งหนึ่งที่ซ่อนอยู่ภายใต้แรงกดดัน คือ เกิดแรงซื้อกลับของราคาพันธบัตร ซึ่งจะส่งผลให้ลดแรงขายจากตลาดหุ้นของสหรัฐที่ก่อนหน้านี้ปรับตัวขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง โดยนัยยะที่ทางเจอโรม พาเวลบอกว่า “ FED พยายามให้การปรับอัตราดอกเบี้ยนี้ให้เกิดการ Soft Landing” ซึ่งก็น่าจะหมายถึง แรงขายของตลาดหุ้นสหรัฐนั่นเอง
คนอเมริกาส่วนใหญ่มักจะมีเงินและสินทรัพย์ต่างๆ อยู่ในตลาดการลงทุน ทั้งหุ้น หรือว่าถือหน่วยลงทุนในกองทุนต่างๆ ซึ่งถ้าปล่อยให้เกิดแรงขายหนักๆ จะสร้างความเสียหายร้าวลึกในประเทศตัวเอง แน่นอนว่าเมื่อได้อย่างต้องเสียอย่าง การทำแบบนี้ในอเมริกาก็ต้องมีคนได้รับผลกระทบเช่นกันประชาชนได้รับความเดือดร้อนจากภาวะราคาสินค้าที่แพงและขาดตลาด
โดยสุดท้ายถ้าตลาดหุ้นยังอยู่ได้ภาพรวมประเทศก็ยังดูดีอยู่
การที่เงินเฟ้อเป็นระเบิดเวลาให้แต่ละประเทศต้องถูกบีบให้ปรับอัตราดอกเบี้ย เพื่อก้าวเข้าสู่ยุคดอกเบี้ยแพงเช่นเดียวกับประเทศไทย ซึ่งก่อนหน้านี้ ประเทศไทยอยู่ในยุคดอกเบี้ยถูกมาหลายปี เลยอาจคุ้นชินกับต้นทุนการทำธุรกิจที่ถูก แต่หลังจากนี้เราอาจต้องเข้าสู่ยุคดอกเบี้ยแพง ซึ่งจะส่งผลกับภาวะหนี้สิน ที่ก่อขึ้นมาก่อนหน้านี้ เช่น การกู้เงินเพื่อไปซื้อที่อยู่อาศัย นอกจากนี้ยังกระเทือนกับธุรกิจที่ต้องการเงินสดเพื่อไปเสริมสภาพคล่อง
เพราะหลังจากนี้ต้องจ่ายอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น ซึ่งสุดท้ายอาจต้องตัดสินใจปิดต้วเองลงไปเพราะประเมินแล้วอาจไม่คุ้มเสี่ยงที่จะดำเนินธุรกิจต่อไปในภาวะที่เงินสดในระบบเริมฝืดไม่หมุนเวียนเร็วและครบรอบเหมือนสมัยก่อน
ในส่วนตลาดก็จะวิ่งกระชากตามการปรับอัตราดอกเบี้ยของแต่ละประเทศไป แล้วรอจนกว่าจะประเทศใหญ่ๆ เริ่มประสบปัญหาและเป็นผู้รับเคราะห์ว่าเป็นสาเหตุให้เกิดวิกฤติการเงิน แล้วเศรษฐกิจจึงจะค่อยๆ ผ่อนคลายความกังวล นักลงทุนรายใหญ่กล้าอัดฉีดเงินกลับเข้าสู่ระบบเพื่อลงทุนอีกครั้งนั่นเอง
นี่เป็นเพียง Marco View ที่เพจ Money Art ได้ทำขึ้นเพียงเท่านั้น ทั้งหมดนี้อาจจะไม่เกิดหรือเกิดก็ได้ เราในฐานะประชาชนได้แต่รอดูสิ่งที่เกิดขึ้นและเตรียมตัวเองให้พร้อมที่จะเผชิญกับวิกฤตที่กำลังจะมาถึง
╔═══════════════════════════╗
เพราะเราเชื่อว่า เรื่องการลงทุนมีอะไรมากกว่าแค่เรื่องเงินและผลกำไร หากคุณชอบบทความแบบนี้ อย่าลืมกดติดตามเพจเป็นรายการโปรด #MoneyArt
╚═══════════════════════════╝